วัสดุลายฉลุ
ในหมวดหมู่นี้จะพยายามรวบรวมเกี่ยวกับ ความรู้ที่เกี่ยวกับวัสดุลายฉลุ ผนังฉลุ กำแพงฉลุ ระแนงไม้ฉลุบังตา การติดตั้ง หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องนะครับ
1. ความแตกต่างระหว่างวัสดุเมื่อนำมาฉลุ ตัดและใช้งาน หรือนำมาตกแต่งบ้าน update 10/5/14
2. การติดตั้งแผ่นงานฉลุ Grill Wall panel 10/5/14
3. การทำสีแผ่นลายฉลุสำเร็จรูป (28/6/14)
4. การบังตาหน้าห้องน้ำ (29/6/14)
1. ความแตกต่างระหว่างวัสดุเมื่อนำมาฉลุ ตัดและใช้งาน หรือนำมาตกแต่งบ้าน
ปัจจุบันวัสดุที่นิยมใช้กันคือ MDF Plaswood Fibercement(คล้ายไม้ฝาเชอร่า)
MDF เหมาะกับงานตกแต่งภายใน
คุณสมบัติดีคือ เมื่อตัดแล้วเรียบเนียนไม่เป็นขุย สามารถเก็บงานได้เรียบร้อย แข็งแรง นิยมนำมาตกแต่งภายในหรือ built-in
ข้อเสีย คือไม่กันน้ำ สามารถขึ้นราได้
Fibercement (ไฟเบอร์ซีเมนต์)
สามารถทนน้ำ ความชื้น แสงแดด กันปลวก กันความร้อนได้ดี
ข้อเสียผิวไม่เรียบเท่า plaswood หรือ MDF อาจทำสีได้ยากกว่าวัสดุอื่นๆ
Plaswood ลักษณะของพลาสติกผสม
มีน้ำหนักเบา ทำให้ติดตั้งง่าย ทนอากาศร้อนและกันน้ำ สามารถติดตั้งใช้งานภายในและนอกได้ ทนต่อการผุและไม่ดูดความชื้น ไม่บวมพอง กันปลวก มอด เชื้อรา กันความร้อนได้ดี และสามารถทำสีได้ง่าย
ข้อเสียคือ ราคาแพงกว่า MDF fibercement
Wood ไม้จริงเราสามารถทำได้เช่นกัน แต่ด้วยราคาที่สูงมากในปัจจุบันจึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก
วัสดุอื่นๆ สามารถนำมาทำได้เช่นกัน โฟม หรือ อะคริลิก(acrylic) หากต้องการ โทรสอบถามเราได้เลยครับ
2. การติดตั้งแผ่นงานฉลุ ผนังลายฉลุ Partition Grille Wall panel
เราสามารถติดตั้งแผ่นงานไม้ฉลุชิ้นใหญ่ได้โดยการสร้างโครงไม้ไว้ก่อน จากนั้นจึงยึดไว้ด้วยตะปูหรือกาวตะปู ขึ้นกับชิ้นงานฉลุนั้นขนาดเท่าใด หรือต้องการใช้งานในแบบตกแต่ง หรือต้องการใช้งานในแบบการกั้นเป็น Partition
งานติดตั้งในแบบขึ้นโครงจะมีลักษณะการติดตั้งเหมือนการติดตั้งผนังเบาหรือ SmartBoard ต่างๆครับ (ตาม Clip ด้านล่างครับ)
หากเป็นการติดตั้ง Backdrop งาน event ต่างๆ หรือในงานที่ใช้ชั่วคราวอาจใช้กาวซิลิโคนแทนกาวตะปูได้เช่นกันเพื่อให้ราคาที่ถูกลงและสามารถแกะออกได้ง่าย
หากเป็นการติดตั้งบน Wallpaper นั้น แผ่นงานฉลุมีน้ำหนักมากกว่าที่กาวที่ยึดระหว่าง wallpaper กับกำแพงจะสามารถรับได้ (เพราะว่าใช้เพียงกาวแป้งเปียกธรรมดาติด wallpaper) ดังนั้นคำแนะนำในการติดตั้งแผ่นงานฉลุนั้น แนะนำให้กรีด paper ออกเป็นฝาแล้วใช้กาวตะปูยึดไว้ จากนั้นกดจนกาวแห้ง อย่างไรก็ตามชิ้นงานที่ติดด้วยกาวตะปูมักจะติดแน่นมาก (มาตรฐาน 25kg/ตารางนิ้ว) กำแพงอาจเป็นรอยได้เมื่อแกะชิ้นงานออก ดังนั้นข้อดีของวิธีการนี้คือสามารถปิดกลับ wallpaper เมื่อถอดชิ้นงานได้
3. การทำสีแผ่นลายฉลุสำเร็จรูป
การทำสีพลาสวูด (PVC foam sheet) ทำได้ง่ายมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก สามารถใช้สีพ่นพลาสติกหรือเหล็กก็ได้เป็นสีที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป ทำก่อนติดตั้งหรือทำหลังจากติดตั้งแล้วก็ได้เช่นกัน
การผสมสีก่อนพ่น หากใช้ทินเนอร์จะแห้งเร็ว หากใช้น้ำมันสนจะแห้งช้า
ส่วนใหญ่สีน้ำมันจะใช้ทาเนื่องจากทำแล้วสีจะเนียนกว่าใช้พ่น
อย่างไรก็ตามสีพ่นมักใช้ผสมทินเนอร์เพื่อง่ายต่อการพ่น
หากวัสดุทำจากไม้การทำสีลงไปในไม้ ต้องพ่นแลคเกอร์รองพื้น (ร้านสีมักเรียกว่าชิลเลอร์ หรือ ชแลคขาว)ก่อนในชั้นแรก
แต่เนื่องจากพลาสวูดเป็นพลาสติกผิวเรียบอยู่แล้วสามารถพ่นสีอุตสาหกรรมได้เลยโดยไม่ต้องรองพื้นก่อน
4. การบังตาหน้าห้องน้ำ ในบางครั้งเราไม่อยากให้เห็นประตูห้องน้ำหรือไม่ได้ปิดประตูห้องน้ำตลอด
บางครั้งเราต้องการบังหน้าห้องน้ำหรือพรางตา แต่ไม่ต้องการสร้างผนังถาวรปิดทึบหรือก่อปูนขึ้นมา เราสามารถใช้ฉากกั้นลายฉลุน้ำหนักเบาๆอย่างพลาสวูดทำสีไปแขวนหรือตั้งก็ได้ ผนังลายฉลุจะทำให้บ้านไม่ดูทึบหรือแคบลงมาก และได้ลายที่สวยงามอีกด้วย